วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 3

                                                                          บันทึกอนุทิน


                            วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                                     อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน

                                                      วัน/เดือน/ปี  21 พฤศจิกายน  พ.ศ.2556

                                                      ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 103 วันพฤหัสบดี 

                                                     เวลาเข้าเรียน  08:30 - 12:20 น.  ห้อง 234

                       วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเรื่อง คณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย  ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
                                  
1.ให้เด็กมีพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบอกคำศัพท์ ได้แก่ บวก ลบ คูณ หาร มากกว่า 

น้อยกว่า เป็นต้น

2.ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ

3.เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับ๕ณิตศาสตร์

4.ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน

5.ให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ


ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  สำหรับเด็กปฐมวัย

1. การสังเกต (observation)  

2. การจำแนก (Classifying)

3.การเปรียบเทียบ (Comparing)

4. การจัดลำดับ ( ordering)

5. การวัด (Measurement)

6. การนับ (Counting)

7. รูปทรงและขนาด ( Sharp and Size)


คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ตัวเลข--------> น้อย  มาก   น้อยกว่า  มากกว่า  ไม่มีทั้งหมด

ขนาด---------> ใหญ่ เล็ก  คล้าย สองเท่า  ใหญ่ที่สุด  สูง  เตี้ย

รูปร่าง--------->สามเหลี่ยม  วงกลม   สี่เหลี่ยม  ยาว  โค้ง 

ที่ตั้ง-----------> บน  ต่ำ  ขวา  ซ้าย  สูงที่สุด  ระหว่าง  ก่อน ระยะทาง

ค่าของเงิน ------> สลึง  ห้าสิบสตางค์  หนึ่งบาท  ห้าบาท  สิบบาท 

ความเร็ว-------> เร็ว  ช้า วิ่ง  เดิน

อุณหภูมิ-------> เย็น  ร้อน  อุ่น  เดือดฃ

  

   นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรง ดังภาพต่อไปนี้




  กิจกรรมวันนี้

   อาจารย์ได้แจกกระดาษ A 4  และกระดาษสี จากนั้นให้วาดรูปวงกลมเท่าลูกปิงปอง 1 รูป แล้วให้

เขียนตัวเลขที่เราชอบ 1 ตัว ลงไปในวงกลม  ดิฉันเลือกเลข 2  ต่อจากนั้น อาจารย์ก็ให้วาดกลับดอกไม้

เท่าจำนวนที่ตัวเองเลือกพร้อมตกแต่งให้สวยงาม 







          ความรู้ที่ได้รับ

        ทำให้รู้ว่าในการเรียนการสอนครูควรเปิดโอกาศให้เด็กมีอิสระทางความคิด 

       ทำให้เด็กกล้าแสดงออก และการตอบคำถามของเด็กไม่มีผิดไม่มีถูกเด็กที่มีอายุเท่ากัน 

       จะมีพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ครูไม่ควรนำเด็กมาเปรียบเทียบกัน


บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 2


                                                                         บันทึกอนุทิน


                              วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                                       อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน

                                                       วัน/เดือน/ปี  14 พฤศจิกายน  พ.ศ.2556

                                                       ครั้งที่ 2 กลุ่มเรียน 103 วันพฤหัสบดี 

                                                     เวลาเข้าเรียน  08:30 - 12:20 น.  ห้อง 234
                
                  วันนี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากป่วย แต่ได้ถามนางสาวจิราภรณ์ นวลโฉม ว่าอาจารย์ได้                          สอนและได้ให้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง  เพื่อนบอกว่าอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับความหมายของคณิตศาสตร์  ความสำคัญของคณิตศาสตร์ ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget  การอนุรักษ์ หลักการการจัด ประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ดังนี้
      
      ความหมายของคณิตศาสตร์    หมายถึง ระบบการคิดของมนุษย์ ศึกษาอธิบายความสัมพันธ์ต่างๆในเชิงปริมาณ โดยใช้ภาพ สัญลักษณ์ การพูด การเขียน และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคำนวณ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลขการวัด เรขาคณิต พืชคณิต หรือรูปแบบความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีเหตุผล ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ มีเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์

      ความสำคัญของคณิตศาสตร์
            - เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
            - ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
            - เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล  วางแผนงานและประเมินผล
            - เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


      ทฤษฏีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget
            1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor)  แรกเกิด-2 ปี
            2. ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational) อายุ 2-7 ปี


     การอนุรักษ์     เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
            - การนับ
            - การจับคู่หนึ่งต่อเนื่อง

            - การเปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
            - การเรียงลำดับ
            - การจัดกลุ่ม


    กิจกรรมในวันนี้

         อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนวาดรูปสัตว์อะไรก็ได้ที่มีจำนวนขาเยอะที่สุด  ตามความคิดของนักศึกษา และพร้อมกับลงสีให้สวยงาม ซึ่งในการวาดภาพสัตว์ที่มีขาเยอะๆ เสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้เราได้มีการผสมผสานกระดาษสีต่างๆให้เข้ากับขาสัตว์ ก็คือเป็นการตัดปะนั้นเอง 

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 1

                                                                     บันทึกอนุทิน


                              วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                             อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์ตฤน  แจ่มถิน

                             วัน/เดือน/ปี  4 พฤศจิกายน  พ.ศ.2556

                             ครั้งที่ 1  กลุ่มเรียน 103 วันพฤหัสบดี 

                             เวลาเข้าเรียน  08:30 - 12:20 น.  ห้อง 234


 วันนี้เป็นการเรียนการสอนครั้งแรก อาจารย์ตฤน ก็ได้ปฐมนิเทศนักศึกษา  แล้วก็อธิบายเกี่ยวกับแนวการสอนในแต่ละสัปดาห์ว่าจะต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง  แล้วก็ได้แจกใบเช็คการเข้าเรียนของนักศึกษา พอท้ายคาบอาจารย์ก็ให้เขียนองค์ความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

         





     สิ่งที่ได้รับ

 ได้รู้แนวการสอนของอาจารย์ในแต่ละสัปดาห์เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการค้นคว้าหรือ                      การเตรียมความพร้อมก่อนเรียนในแต่ละครั้ง  และได้นำความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้ในการเรียนในครั้งนี้